โดย Krokodilเป็นสารเสพติดออกฤทธิ์ร้ายแรง
เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วออกฤทธิ์คล้ายเฮโรอีนแต่แรงกว่าถึง 3
เท่า โดยมันมีส่วนผสมของโคเคอีน น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์
และมีถิ่นกำเนิดมาจากรัสเซีย ซึ่งที่รัสเซียมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากยาดังกล่าวกว่า
30,000คน
วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย
การติดยาเสพติดก่อให้เกิดโทษทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจของผู้เสพติดรวมทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องให้การบำบัดรักษาให้หายจากสภาพของการเสพติด ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
ระบบสมัครใจ
การบำบัดแบบสมัครใจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการจะเลิกเสพยาเสพติดโดยสมัครใจ สามารถขอรับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลของภาครัฐ จำนวน 931 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 38 แห่ง และศูนย์ฟื้นฟูฯ ของรัฐร่วมกับเอกชนอีก 30 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การบำบัดฯ แบบผู้ป่วยนอก กาย จิต สังคมบำบัด โดยมีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 ไม่ต้องนอนในสถานบำบัดฯ
1.2 แพทย์ให้การบำบัดฯ ตามสภาพปัญหา และอาการของผู้ป่วย
1.3 มารับการบำบัดฯ ตามเวลานัด โดยมีญาติมาด้วยทุกครั้งเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยให้ประสบผลสำเร็จในการบำบัดฯ
1.4 ระยะเวลาการบำบัดฯ 4 เดือน (16สัปดาห์)
1.5 นัดติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 1 ปี
ระบบบังคับบำบัด
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศง 2545 ผู้ติดยาเสพติดที่ถูกจับในฐานะผู้เสพจะถูกนำเข้ารับการบำบัดฯ ในระบบนี้ และหากผู้เข้ารับการบำบัดฯ มีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ก็จะถูกปล่อยตัวโดยไม่ถูกดำเนินคดี
การนำผู้เสพติดเข้าบังคับบำบัด เริ่มจากการที่ผู้เสพติดถูกจับกุมตามฐานความผิดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฟื้นฟู ฯ พ.ศ.2545 และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ศาลจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติตรวจพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลที่เป็นผู้เสพติดจริง ผู้เสพติดจะถูกกักกันไว้ในสถานที่รอตรวจพิสูจน์ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 114 แห่ง ( กรมราชทัณฑ์ 80 แห่ง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 34 แห่ง ) (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2554) พนักงานคุมประพฤติจะต้องจัดำข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หากไม่เสร็จสามารถขยายได้อีก 15 วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน 45 วัน และเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ เพื่อวางแผนการฟื้นฟูฯ สำหรับผู้เสพติดเป็นรายบุคคล
รูปแบบการฟื้นฟูฯ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การฟื้นฟูสมรรถภาพฯ แบบไม่ควบคุมตัว
มีหลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับการบำบัดฯ แบบผู้ป่วยนอกของระบบสมัครใจในสถานพยาบาล
ของกระทรวงสาธารณสุข หรืออาจให้การฟื้นฟูฯ ในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่ายวิถีพุทธ หรือโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ
2) การฟื้นฟูสมรรภาพฯ แบบควบคุมตัว
เน้นการฟื้นฟูฯ แบบพักค้างในสภานที่จัดหาเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติด เป็น
ระยะเวลา 4-6 เดือน และสามารถขยายระยะเวลาการฟื้นฟูฯได้ครั้งละ 6 เดือน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี ซึ่งในการดำเนินงานได้บูรณาการทรัพยากรบุคคลและสถานที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัวมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีศูนย์ฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัว จำนวน 86 แห่ง (กองทัพไทย 3 แห่ง กองทัพบก 32 แห่ง กองทัพอากาศ 12 แห่ง กองทัพเรือ 4 แห่ง กรมการปกครอง (กองร้อย อสจ.) 10 แห่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2 แห่ง กรมการแพทย์ 7 แห่ง กรมสุขภาพจิต 13 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเชนะยาเสพติด 1 แห่ง กรมคุมพระพฤติ 1 แห่ง กรมราชทัณฑ์ 1 แห่ง)
ระบบต้องโทษ
การบำบัดฯ ในระบบต้องโทษ เป็นการให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขังซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลภายใต้ขอบเขตข้อบังคับของกฎหมาย เรือนจำหรือทัณฑสถานได้จัดให้มีการบำบัดฟื้นฟูฯ ขึ้นภายในเรือนจำหรือทัณพสถาน ในกรณีที่เป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี สถานพินิจฯ ได้จัดให้มีการบำบัดฟื้นฟูฯ สำหรับเยาวชนในสถานพินิจฯ เช่นกัน
ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย |
|
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติ และบุคลิกภาพ |
|
เมื่อขาดยาเสพติดจะมีอาการอยากยาเสพติดเกิดขึ้นเช่น |
|
สาเหตุของการติดยาเสพติด |
|
สาเหตุของการติดสารเสพติด
1.ความอ่อนไหวทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งรุนแรงมากน้อยแล้วแต่บุคคล
2.ติดเพราะถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ถูกบีบบังคับจากหมู่คณะ
3.สิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งในการชักจูงให้บุคคลใช้ยาเสพติด เช่น อยู่ในละแวกที่มี
การค้ายาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่น
4.การแสดงค่านิยมที่ต้องการจะต่อต้านต่อคำสั่งสอน หรือห้ามปรามจากผู้ใหญ่
5.อาจเป็นเพียงความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากมีประสบการณ์
6.วัยรุ่นที่ด้อยโอกาสต้องการหนีจากสภาพของตนชั่วคราว การใช้ยานับเป็นการที่ทำให้ตนลืมนั้นได้ชั่ว
คราว
7.การใช้ยาเป็นกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายทางจิตใจ
8.การใช้ยาเพื่อลดความกระวนกระวาย ความทุกข์ ความโดดเดี่ยวเหมือนการถูกละทิ้งแต่ทั้งนี้ ไม่ว่า
เสพยาเสพติดด้วยสาเหตุใด ผลที่ตามมากับทุกคนนั้นไม่แตกต่างกัน คือ ชีวิตและอนาคตที่มืดมน สิ้น
หวัง และอยู่กับปัญหาไปตลอดชีวิตหากประสบปัญหาสงสัยบุคคลในครอบครัว ชุมชน ติดยาเสพติด
ปรึกษาสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บทนำ
สารเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก หมายถึงสารที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้นิยามสารเสพติดให้โทษดังนี้ สารเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
รายชื่อผู้จัดทำ
รายชื่อผู้จัดทำ
นางสาวกนกภรณ์ วังเวงจิต เลขที่ 1
นายแก้วเก้า คงใจดี เลขที่ 6
นางสาวนิติยา ทุนดี เลขที่ 20
นายภูวเดช ไชยเชษฐ์ เลขที่ 32
นางสาวสุทธิดา มาลาศรี เลขที่ 42
โรงเรียนสุรวิทยาคาร
ประเภทของยาเสพติด(กลุ่มออกฤทธิ์ที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน )
ประเภทของยาเสพติด
4) กลุ่มออกฤทธิ์ที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน คือเมื่อเสพเข้าไปแล้วจะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท
กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อยๆ
จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาท
และถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้ เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ประเภทของยาเสพติด ( กลุ่มออกฤทธิ์หลอนประสาท )
ประเภทของยาเสพติด
3) กลุ่มออกฤทธิ์หลอนประสาท (Hallucinogen) จะออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้มีการรับรู้ความรู้สึก (Perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี (Lysergicacid dietyhlamide) แกสโซลีน
(Gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และ แฟนไซคลิดีน (Phencylidine)
ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ฯลฯ
ประเภทของยาเสพติด ( กลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท )
ประเภทของยาเสพติด
2) กลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
และอารมณ์ด้วย เช่น แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน อีเฟดรีน โคเคน ฯลฯ
ประเภทของยาเสพติด (กลุ่มออกฤทธิ์กดประสาท )
ประเภทของยาเสพติด
1) กลุ่มออกฤทธิ์กดประสาท (Depressants) ยาหรือสารเสพติดกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทสมอง ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง
และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้ได้แก่ ฝิ่น
มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (Secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ใช้ว่า
"ปีศาจแดง" หรือ "เหล้าแห้ง" ไดอะซีแพม ทินเนอร์ กาว ฯลฯ
แนวทางในการป้องกันยาเสพติด
แนวทางในการป้องกันยาเสพติด
1.ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด
2.ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว
ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่
3.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่างๆตามความสนใจ
ความถนัด
4.ระมัดระวัง
การใช้ยาและศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
5.อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติดดูแลเรื่องการคบเพื่อน
6.คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็น
ประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ
เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด
7.สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก
ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
8.
หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว
โดยการสมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษายาเสพติดก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายยกเว้นโทษให้
9. เมื่อรู้ว่าใครผิด นำเข้าส่งออก
หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจเจ้าหน้าที่ศุลกากรนายอำเภอ กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน ป.ป.ส.)
สาเหตุของการติดยาเสพติด
สาเหตุของการติดยาเสพติด
1. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป
และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพติดนั้น
ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพติดนั้น
ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพติดนั้น
หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว
ก็อาจทำให้ติดได้
2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพติดนั้น
3. การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพติดนั้น
2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพติดนั้น
3. การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพติดนั้น
4. การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพติด การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต
หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป
5. การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
6. สภาพแวดล้อมทางสังคม คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพติดนั้นได้
5. การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
6. สภาพแวดล้อมทางสังคม คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพติดนั้นได้
7.
การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่หรือเพื่อนเสพสิ่งเสพติด
จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน
จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพติดนั้นจนติด
8. การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
8. การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
โทษของสารเสพติด(ชุมชนและสังคม)
โทษต่อชุมชนและสังคม
1.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง
ๆในชุมชน .เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม
สังคมถูกทำลายทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
2.ทำให้การพัฒนาชุมชน
และสังคมในด้านต่าง
ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้าสูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคมทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย
เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
3.ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์
โทษของสารเสพติด(ครอบครัว)
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว
และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง
โทษของสารเสพติด (ร่างกายและจิตใจ)
โทษทางร่างกาย
และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
ความหมายของยาเสพติด
สารเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก หมายถึงสารที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้
และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)