วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

นอภ.-ตร.ท่าศาลา รวบ ผช.ผญบ.ค้ายาให้ลูกบ้านเสพ



นอภ. - ผกก.สภ.ท่าศาลา บุกจับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านค้ายานรกให้ลูกบ้าน นำไปสอบสวนและขยายผลจับ อดีตเมีย ผช.ผญบ.ได้พร้อมของกลางจำนวนมาก พร้อมให้การรับสารภาพ ส่งดำเนินคดีตาม ก.ม. ...
เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 27 ม.ค. ที่กองร้อย อส.อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช นายรังสรรค์ รัตนสิงห์ นายอำเภอท่าศาลา พ.ต.อ.สำเริง ชูกะนันท์ ผกก.สภ.ท่าศาลา นายรุ่งเรือง ธิมาบุตร ปลัดอาวุโส อ.ท่าศาลา ได้ร่วมจับกุมนายสุธน คงเมืองแท้ อายุ 43 ปี ผช.ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 14 ต.ท่าขึ้น ลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้กับวัยรุ่น และลูกบ้าน โดยนำกำลังบุกเข้าตรวจค้นบ้านพักของนายสุธน ที่บ้านเลขที่ 97/1 หมู่ 14 ต.ท่าขึ้น ผลการตรวจค้นพบของกลางยาไอซ์ จำนวน 3 ถุงน้ำหนักรวม 1.79 กรัม อาวุธปืนสั้นขนาด .38 จำนวน 1 กระบอก กระสุน .38 จำนวน 3 นัด อุปกรณ์การเสพยาเสพติด 1 ชุด วิทยุสื่อสาร 1 เครื่อง ซองพกอาวุธปืน 1 ซอง เงินสด 2,300 บาท โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง จึงคุมตัวมาทำการสอบสวน และให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาว่า สั่งซื้อยาไอซ์มาจาก น.ส.หนูเวียง รอบคอบ อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นอดีตภรรยาของผู้ช่วยผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งใน อ.ท่าศาลา ที่ถูกไล่ออกไปแล้วก่อนหน้านี้
นายรังสรรค์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่สอบสวน และขยายผลวางแผนให้นายสุธน ล่อซื้อยาไอซ์จาก น.ส.หนูเวียง โดยนัดส่งมอบยาไอซ์ ที่บริเวณริมถนนสายวัดเลียบ หมู่ 13 ต.ท่าขึ้น เมื่อได้เวลานัดหมาย น.ส.หนูเวียง ได้ขี่รถ จยย.พร้อมของกลาง ยาไอซ์ 4 ถุงน้ำหนักรวม 3.70 กรัม นำมาส่งให้กับสายของเจ้าหน้าที่ และเมื่อส่งมอบยาเสพติดของกลางเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเข้าทำการจับกุม น.ส.หนูเวียง ได้พร้อมของกลางยาไอซ์ดังกล่าวและของกลางอื่นๆ อีกหลายรายการ รวมทั้งบัญชีรายชื่อลูกค้าอีกจำนวนหนึ่ง คุมตัวมาสอบสวนสอบสวน น.ส.หนูเวียงให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา จึงคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองนำส่ง พงส.สภ.ท่าศาลา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.

ตร.ลำพูนจับยาบ้า 1.8 หมื่นเม็ด ยัดใส่ถุงแบรนด์ 'แอปเปิล'


ตำรวจลำพูนร่วมกับทหารร่วมกันจับกุมยาบ้ารุ่นใหม่สีเข้มได้ 18,000 เม็ด บรรจุถุงสีดำมีโลโก้ของ แอปเปิล ผู้ต้องหารับลักลอบขนมากับรถทัวร์โดยสาร โดยได้ค่าจ้างขน 2 หมื่นบาท ขณะที่ ตร.จะตามสืบหาตัวผู้จ้างวานต่อไป...


เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 ม.ค. 2558 ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน นายจำรอง เณรแย้ม ปลัดจังหวัดลำพูน พล.ต.ต.สมสง่า ชรินทร์ ผบก.ภ.จว.ลำพูน และ พ.อ.บุญยืน อินกว่าง ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองพลทหารราบที่ 7 ส่วนแยก 1 จังหวัดลำพูน ร่วมกันแถลงผลการจับกุมตรวจยึดยาเสพติด หลังเจ้าหน้าที่ด่านตรวจยาเสพติดถาวรอำเภอแม่ทา จับกุม นางหิรัณยา ใจตา อายุ 44 ปี ชาวบ้าน หมู่ 4 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พร้อมของกลางยาบ้า 18,000 เม็ด บนรถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จำกัด หมายเลขทะเบียน 15-2562 กทม. โดยได้จับกุมยาบ้ารุ่นใหม่สีแดงเข้ม ได้ 18,000 เม็ด บรรจุถุงสีดำยี่ห้อแอปเปิล รุ่นใหม่

ด้านผู้ต้องหา รับสารภาพว่า รับจ้างขนยาบ้ามา 2 หมื่นบาท จาก อ.ฝาง โดยเป็นยาบ้าในเครือข่ายของ เล่าต๋า แสนลี่ เครือข่ายยาบ้ารายใหญ่ บางถุงมียาบ้ารุ่นใหม่มาแรง กำลังเปิดตัวในตอนนี้ คือยาบรรจุถุงสีดำยี่ห้อ แอปเปิล ล่าสุด ตำรวจตั้งข้อหามียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย และกำลังขยายผลหาตัวการใหญ่ต่อไป.

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยาเสพติดชนิดใหม่ Krokodil

ยาเสพติดชนิดใหม่ระบาด Krokodil กินเนื้อ อันตรายร้ายแรง!!



     โดย Krokodilเป็นสารเสพติดออกฤทธิ์ร้ายแรง  เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วออกฤทธิ์คล้ายเฮโรอีนแต่แรงกว่าถึง 3 เท่า โดยมันมีส่วนผสมของโคเคอีน น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ และมีถิ่นกำเนิดมาจากรัสเซีย ซึ่งที่รัสเซียมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากยาดังกล่าวกว่า 30,000คน


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย

      การติดยาเสพติดก่อให้เกิดโทษทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจของผู้เสพติดรวมทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องให้การบำบัดรักษาให้หายจากสภาพของการเสพติด ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
          ระบบสมัครใจ
          การบำบัดแบบสมัครใจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการจะเลิกเสพยาเสพติดโดยสมัครใจ สามารถขอรับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลของภาครัฐ จำนวน 931 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 38 แห่ง และศูนย์ฟื้นฟูฯ ของรัฐร่วมกับเอกชนอีก 30 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2554)
     รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1)      การบำบัดฯ แบบผู้ป่วยนอก กาย จิต สังคมบำบัด โดยมีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
1.1   ไม่ต้องนอนในสถานบำบัดฯ
1.2   แพทย์ให้การบำบัดฯ ตามสภาพปัญหา และอาการของผู้ป่วย
1.3   มารับการบำบัดฯ ตามเวลานัด โดยมีญาติมาด้วยทุกครั้งเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยให้ประสบผลสำเร็จในการบำบัดฯ
1.4   ระยะเวลาการบำบัดฯ 4 เดือน (16สัปดาห์)
1.5   นัดติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 1 ปี
ระบบบังคับบำบัด
          ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศง 2545 ผู้ติดยาเสพติดที่ถูกจับในฐานะผู้เสพจะถูกนำเข้ารับการบำบัดฯ ในระบบนี้ และหากผู้เข้ารับการบำบัดฯ มีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ก็จะถูกปล่อยตัวโดยไม่ถูกดำเนินคดี
          การนำผู้เสพติดเข้าบังคับบำบัด เริ่มจากการที่ผู้เสพติดถูกจับกุมตามฐานความผิดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฟื้นฟู ฯ พ.ศ.2545 และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ศาลจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติตรวจพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลที่เป็นผู้เสพติดจริง ผู้เสพติดจะถูกกักกันไว้ในสถานที่รอตรวจพิสูจน์ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 114 แห่ง ( กรมราชทัณฑ์ 80 แห่ง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 34 แห่ง ) (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2554) พนักงานคุมประพฤติจะต้องจัดำข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หากไม่เสร็จสามารถขยายได้อีก 15 วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน 45 วัน และเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ เพื่อวางแผนการฟื้นฟูฯ สำหรับผู้เสพติดเป็นรายบุคคล
          รูปแบบการฟื้นฟูฯ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1)      การฟื้นฟูสมรรถภาพฯ แบบไม่ควบคุมตัว
มีหลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับการบำบัดฯ แบบผู้ป่วยนอกของระบบสมัครใจในสถานพยาบาล
ของกระทรวงสาธารณสุข หรืออาจให้การฟื้นฟูฯ ในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่ายวิถีพุทธ หรือโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ
2)      การฟื้นฟูสมรรภาพฯ แบบควบคุมตัว
เน้นการฟื้นฟูฯ แบบพักค้างในสภานที่จัดหาเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติด เป็น
ระยะเวลา 4-6 เดือน และสามารถขยายระยะเวลาการฟื้นฟูฯได้ครั้งละ 6 เดือน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี ซึ่งในการดำเนินงานได้บูรณาการทรัพยากรบุคคลและสถานที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัวมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีศูนย์ฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัว จำนวน 86 แห่ง (กองทัพไทย 3 แห่ง กองทัพบก 32 แห่ง กองทัพอากาศ 12 แห่ง กองทัพเรือ 4 แห่ง กรมการปกครอง (กองร้อย อสจ.) 10 แห่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2 แห่ง กรมการแพทย์ 7 แห่ง กรมสุขภาพจิต 13 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเชนะยาเสพติด 1 แห่ง กรมคุมพระพฤติ 1 แห่ง กรมราชทัณฑ์ 1 แห่ง)
          ระบบต้องโทษ
          การบำบัดฯ ในระบบต้องโทษ เป็นการให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขังซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลภายใต้ขอบเขตข้อบังคับของกฎหมาย เรือนจำหรือทัณฑสถานได้จัดให้มีการบำบัดฟื้นฟูฯ ขึ้นภายในเรือนจำหรือทัณพสถาน ในกรณีที่เป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี สถานพินิจฯ ได้จัดให้มีการบำบัดฟื้นฟูฯ สำหรับเยาวชนในสถานพินิจฯ เช่นกัน

ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
  • สุขภาพ ทรุดโทรมผอมซูบซีด
  • ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้งแตก
  • ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง
  • น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
  • มักใส่แว่นกรองแสงสีเข้ม เพื่อต่อสู้กับแสงสว่างเพราะม่านตาขยาย
  • มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีด นิ้วมือมีรอยคราบเหลืองสกปรก
  • มีรอยแผลเป็นที่ท้องแขนเป็นรอยกรีด ด้วยของมีคม (ทำร้ายตนเอง)
 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติ และบุคลิกภาพ
  • ขาดการเรียน หนีโรงเรียน การเรียนด้อยลงสติปัญญาเสื่อม การงานบกพร่อง
  • ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเอง หลบซ่อนตัว ทำตัวลึกลับ
  • เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล พูดจาก้าวร้าว ดื้อรั้นไม่เชื่อฟัง สามารถทำร้ายบิดามารดาได้
  • ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย สกปรก
  • สีหน้าแสดงความผิดหวังกังวล ซึมเศร้า
  • พกอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว ไม้ขีดไฟ
 เมื่อขาดยาเสพติดจะมีอาการอยากยาเสพติดเกิดขึ้นเช่น
  • มีอาการน้ำมูก น้ำตาไหล หาวนอน จามคล้ายเป็นหวัด
  • กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ลึก จ้องหาแต่ยาเสพติด จะขวนขวายหามาเสพไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาจมีเลือดปนออกมาด้วย เรียกว่า ลงแดง
  • ขนลุก เหงื่อออก เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ขบฟัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูกดิ้นทุรนทุราย
  • มีไข้และความดันโลหิต ชักกระตุก นอนไม่หลับ คลุ้มคลั่ง เสียสติ
 สาเหตุของการติดยาเสพติด
  • ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง
  • เพื่อนชวน หรือเพื่อนต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิดอาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์หรือช่วยให้ทำงานได้มาก ๆ
  • ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติ ของยาบางชนิด อาจทำให้ผู้ใช้เกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว
  • ใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยขาดการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
  • สภาพแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัยมีการค้ายาเสพติด หรือมีผู้ติดยาเสพติด
  • ถูกหลอกอาจเพื่อประโยชน์ในการค้ายาเสพติด
  • เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ให้กับตนเองได้

สาเหตุของการติดสารเสพติด

1.ความอ่อนไหวทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งรุนแรงมากน้อยแล้วแต่บุคคล
2.ติดเพราะถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ถูกบีบบังคับจากหมู่คณะ
3.สิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งในการชักจูงให้บุคคลใช้ยาเสพติด เช่น อยู่ในละแวกที่มี
การค้ายาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่น
4.การแสดงค่านิยมที่ต้องการจะต่อต้านต่อคำสั่งสอน หรือห้ามปรามจากผู้ใหญ่
5.อาจเป็นเพียงความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากมีประสบการณ์
6.วัยรุ่นที่ด้อยโอกาสต้องการหนีจากสภาพของตนชั่วคราว การใช้ยานับเป็นการที่ทำให้ตนลืมนั้นได้ชั่ว
คราว
7.การใช้ยาเป็นกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายทางจิตใจ
8.การใช้ยาเพื่อลดความกระวนกระวาย ความทุกข์ ความโดดเดี่ยวเหมือนการถูกละทิ้งแต่ทั้งนี้ ไม่ว่า
เสพยาเสพติดด้วยสาเหตุใด ผลที่ตามมากับทุกคนนั้นไม่แตกต่างกัน คือ ชีวิตและอนาคตที่มืดมน สิ้น
หวัง และอยู่กับปัญหาไปตลอดชีวิตหากประสบปัญหาสงสัยบุคคลในครอบครัว ชุมชน ติดยาเสพติด
ปรึกษาสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทนำ


สารเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก หมายถึงสารที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้นิยามสารเสพติดให้โทษดังนี้ สารเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"